เมนู

ว่าด้วยอัสสสตวาทะ 3



[87] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรม
ที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายสัสสตวาทะ. สัสสต-
วาทะ 3 เหล่านี้ คือ
1. สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่อง
เผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัย
ความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อ
จิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมความระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลาย
ประการ คือตามระลึกชาติได้ หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ
บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติ
บ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้างว่า ในภพโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ
นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มี
โคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มา
บังเกิดในภพนี้. ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลาย
ประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เขากล่าว
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้จักกาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว หรือเจริญขึ้น
แล้ว. อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้จักกาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจัก
เจริญขึ้น. อัตตาและโลกเที่ยงคงที่ ตั้งมั่นดุจยอดภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระ-
เนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด

แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้. นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ 1
2. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้ง
มั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ
โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์
ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏกัปวิวัฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง
สี่บ้าง ห้าบ้าง สบบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง
นั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้.
ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อม
ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
รู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว หรือเจริญขึ้นแล้ว. อนึ่ง ข้าพเจ้า
รู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจักเจริญขึ้น. อัตตาและโลก
เที่ยง คงที่ ตั้งมั่นดุจภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียด สัตว์เหล่านั้นย่อมแสน
ไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้.
นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ 2.
3. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์
บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น
อาศัยความประกอบเนือง ๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดย
ชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธิ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย
อยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏกัปวิวัฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง
ว่า ในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น

มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
ด้วยประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลก
พินาศแล้ว หรือเจริญขึ้นแล้ว อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า
โลกจักพินาศ หรือจักเจริญขึ้น. อัตตาและโลกเที่ยงคงที่ ตั้งมั่นดุจยอด
ภูเขา ตั้งมั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่อง-
เที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้. นี้เป็นสัสสต-
วาทะข้อที่ 3.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในสัสสตวาทะ.

ว่าด้วยบุพเพนิวาสานุสสติญาณ



[88] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่
เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมในฝ่ายบุพเพนิวาสานุสติญาณ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความ
เพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนือง ๆ
อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่
เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลาย
ประการ คือ ตามระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
หลายสังวัฏกัปบ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้างว่า ในภพ
โน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มี
อาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น